วิธีตรวจเช็ควัด ทรานซิสเตอร์ - Transistor Check

 ทรานซิสเตอร์ นั้นเป็นอุปกณ์ที่ถูกใช้งานอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใด ต้องมีทรานซิสเตอร์ อยู่เป็นส่วนประกอบอย่างแน่นอน เช่น โทรทัศน์, วิทยุ, เครื่องขยายเสียง, อื่นๆอีกมากมาย ดังนั้นหากเราสามารถวัดตรวจสอบว่าตัวไหนดีตัวไหนเสียได้ ก็จะเป็นเรื่องง่ายในการตรวจสอบซ่อมแก้ไขเครื่องใช้หรืออุปกรณ์นั้นๆ แถมยังภูมิใจไม่ต้องเสียเงินซื้อใหม่อีกด้วย

อุปกรณ์ในการตรวจวัด

  • มัลติมิเตอร์ แบบอนาล็อก(Analog Multimeter) หรือ มิเตอร์เข็ม
  • ทรานซิสเตอร์(Transistor)
ข้อแนะนำ : การใช้มิเตอร์เข็มวัดอุปกรณ์ สายแดง(-) สายดำ(+) *สามารถทดสอบได้โดย นำหลอดไฟ LED มาโดยปกติขายาวจะบวก สั้นจะลบ ให้ลองนำสายมิเตอร์แดงไฟจิ้มขายาว ดำไปจิ้มขาสั้น หลอดจะไม่ติด แต่ถ้านำ แดงจิ้มขาสั้น ดำจิ้มขายาว จะติดนั่นเองครับ

ต้องรู้จักทรานซิสเตอร์ที่เราจะวัดก่อน : หาข้อมูลโครงสร้างดาต้าชีทเพื่อจะได้รู้ว่าขา 1,2,3 ขาไหนเก็บขาอะไรบ้าง หรือถ้าบางท่านชำนาญแล้ว ก็สามารถวัดหาขาและแยกแยะตัวเสียได้ง่าย(*ปกติแล้วตัวเสียจะเห็นได้ชัดคือต่อให้วัดสลับไปมาเข็มมิเตอร์ก็ขึ้นทั้งหมด) 

วิธีวัด ทรานซิสเตอร์ 

การตรวจวัดทรานซิสเอต์นั้น ผมขอแบ่งเป็น 2แบบดังนี้
  1. เช็คดีเสีย ช็อท ไม่ช็อท
  2. หาขา B, C, E แยกชนิด NPN, PNP

วัด ตัวดี เสีย

       ปรับมัลติมิเตอร์แบบเข็มของเรา ไปที่ย่านวัดความต้านทาน โอห์ม(Ω) x1 จากนั้นนำสายมิเตอร์ ลองจิ้มไปเลยครับ โดยไม่สนใจเลยว่าขาไหนเป็นอะไร ต้องไม่ขึ้นถึงกันแม้จะสลับ สายกลับไปกลับมาก็ตาม (ถ้าเกิดว่า จิ้ม 1ขาแล้ววัดอีก 2ขาขึ้นแต่พอสลับสายวัดไม่ขึ้น ถือว่าปกติ เนื่องกลางขานั้นคือขา B) ถ้าของใครวัดแล้วขึ้นหมดแสดงว่า ช็อท เสียครับ
ในตัวอย่างนี้จะใช้ ทรานซิสเตอร์เบอร์ D1047 ตัวใหม่คือตัวดี เก่าคือตัวเสีย ในการสาธิต

เริ่มจากตัวแรก สามารถทำตามได้เลยครับ
นำสายสีดำแตะที่ ขา1 และ สีแดงแตะที่ ขา2 ผลลัพธ์ เข็มของมิเตอร์จะต้องขึ้น
จากนั้นทำตรงกันข้าม ให้สลับสาย ดำและแดง โดยที่แดง ขา1, ดำ ขา2 เข็มของมิเตอร์จะต้องไม่ขึ้น
ขั้นต่อไปนำ สายดำแตะที่ ขา1 และ สายแดงแตะที่ ขา3 ผลลัพธ์ เข็มของมิเตอร์จะต้องขึ้น
จากนั้นทำตรงข้ามเช่นเดิม สลับตำแหน่งสายกัน ดำขา3 แดงขา2 เข็มมิเตอร์จะต้องไม่ขึ้น
วัดรอบสุดท้ายขา 2และ3 วัดสลับกันต้องไม่ขึ้น

การวัดทรานซิสเตอร์ที่เสีย

ส่วนใหญ่แล้ว ทรานซิสเตอร์ตัวที่เสียจะช็อท ลัดวงจรภายในทั้ง 3ขา แต่ในบางครั้งก็อาจลัดวงจรแค่ขา 2,3ก็มี

จากตัวอย่างข้างต้น ใช้ทรานซิสเตอร์เบอร์ 2SD1047 ซึ่งเป็นทรานซิสเตอร์ชนิด NPN การวัดจะตรงกันข้ามกับชนิด PNPครับ

แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น