วงจร หน่วงเวลาก่อนรีเลย์ทำงาน Timer+Relay

วงจรหน่วงเวลาก่อน ที่รีเลย์(Relay)จะทำงาน ขอแนะนำแบบเข้าใจง่ายๆเลยโดยผมจะใช้ทรานซิสเตอร์ ตัวเก็บประจุ ตัวต้านทาน และ รีเลย์(Relay) และสอนหาเวลา(Time)ว่าอุปกรณ์ค่าเท่านี้ หน่วงเวลาได้กี่วินาที(Sec.) จะได้นำไปใช้กันได้ง่ายๆครับ ไปลุยกันเลย
อุปกรณ์
  1. ตัวต้านทาน 33K 2ตัว
  2. ตัวเก็บประจุ 100uF/25V 2ตัว
  3. ทรานซิสเตอร์ BC548 1ตัว
  4. ไดโอด 1N4007 2ตัว
  5. รีเลย์(Relay) 12โวลต์ 1ตัว
  6. แหล่งจ่ายไฟกระแสตรง 12โวลต์
การทำงานของวงจร
       จากวงจรดานบนที่ผมวาดไว้ค่าอุปกรณ์ต่างๆ สามารถหน่วงเวลาได้ 3วินาที ก่อนรีเลย์(Relay) เริ่มทำงานครับโดยการทำงานของวงจรอาศัย 2ตัวหลักในการหน่วงเวลาก็คือ ตัวต้านทานและตัวเก็บประจุ ในการหน่วงเวลาและไป ไบอัสให้กับทรานซิสเตอร์ทำงาน ลองดูรูปภาพด้านล่างประกอบดูครับ ผมวาดให้ดูเพิ่มเติมครับ
       จากภาพ จะเห็นได้ว่า อุปกรณ์แต่ละตัว ทำงานยังไงโดยอธิบายในแบบฉบับของผมได้ดังนี้ เมื่อต่อแหล่งจ่ายให้กับวงจร แรงดันไฟที่เข้ามาจะถูกนำไปเก็บประจุหรืออาจเรียกว่าสำรองไว้ที่ ตัวเก็บประจุตำแหน่ง C1โดยไฟก็ยังไปที่ R1 ค่า 33กิโลโอห์ม พอผ่านหลังตัวต้านทานตัวนี้กระแสจะถูกลดลง ตามคุณสมบัติของตัวต้านทานที่มีหน้าที่หลักคือ ลดกระแสไฟฟ้านั่นเองครับ แต่กระแสที่ถูกลดลงนั้นพอเจอเข้ากับตัวต้านทานตัวถัดมา คือ R2 ที่ต่อไปยังขา เบส(Base) ของทรานซิสเตอร์ ซึ่งมีค่า 33กิโลโอห์ม อยู่อีกทำให้ไม่สามารถทำให้ทรานซิสเตอร์ทำงานได้เนื่องจากกระแส ในการไบอัสไม่เพียงพอดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของตัวเก็บประจุ C2 ที่จะสำรองและเพิ่มกระแสไฟให้เพียงพอที่จะ ไบอัส(Bias) ทรานซิสเตอร์ได้ โดยขั้นตอนการคำนวณหรือกำหนดเวลาผมจะอธิบายในหัวข้อถัดไปด้านล่างครับ โอเคต่อจากเมื่อเราประจุเพียงพอ ก็จะไปอัสทรานซิสเตอร์เมื่อทรานซิสเตอร์ทำงานก็จะเปรียบได้กับเป็นสวิตซ์ทำให้ รีเลย์(Relay) ทำงานได้นั่นเองครับ ~ไดโอด D1 มีหน้าที่ป้องกันการต่อกลับขั้ว ส่วน ไดโอด D2 ทำหน้าที่ ป้องกันไฟกระชากย้อนกลับขณะจ่ายไฟให้รีเลย์ ทำงานครับ

วิธีคำนวณหาค่าเพื่อหน่วงเวลา
จากสูตร หาค่าเวลา T = R x C เวลาหน่วยเป็น วินาที(Sec.)
ให้เรานำค่า R(ตัวต้านทาน หน่วย โอห์ม) x C(ตัวเก็บประจุ หน่วย ฟารัด) = ผลลัพธ์ คือ เวลา มีหน่วยเป็นวินาที(Sec.)
โดยจากวงจรให้เรานำค่า C2 และ R1 มาใช้ในการคำนวณครับ *R2 ไม่ต้องนำมาคิดเนื่องจากมีหน้าที่ป้องกันกระแสเฉยๆครับ
ดังนั้นจะได้ C2 = 100ไมโครฟารัด แปลงเป็น 0.0001ฟารัด
R1 = 33กิโลโอห์ม แปลงเป็น 33000โอห์ม
T = R x C
T = 33000 x 0.0001
T = 3.3 วินาที
นอกจากนี้เรายังสามารถใช้ทรานซิสเตอร์ ตัวต้านทาน ตัวเก็บประจุได้ไม่จำกัดนะครับ ขึ้นอยู่กับความสร้างสรรค์และนำไปใช้งานของแต่ละคนครับ
หากเพื่อนๆท่านไหนสงสัยเรื่องทรานซิสเตอร์ ว่าเอ้ทำไมต้องใช้เบอร์นี้หรือมีวิธีเลือกยังไง สามารถดูได้จากเนื้อหาบทความ ไฟกระพริบแบบละเอียด ได้เลยครับ ขอบคุณครับ
ไฟกระพริบแบบละเอียด พื้นฐานที่นำไปใช้ได้จริงครับ

แสดงความคิดเห็น

2 ความคิดเห็น

  1. ความคิดเห็นนี้ถูกลบโดยผู้ดูแลระบบของบล็อก

    ตอบลบ
  2. ถ้าแหล่งจ่ายไฟ 5V ต้องจัดวงจรอย่างไรครับผม

    ตอบลบ
Emoji
(y)
:)
:(
hihi
:-)
:D
=D
:-d
;(
;-(
@-)
:P
:o
:>)
(o)
:p
(p)
:-s
(m)
8-)
:-t
:-b
b-(
:-#
=p~
x-)
(k)