อุปกรณ์
- ตัวต้านทาน 33K 2ตัว
- ตัวเก็บประจุ 100uF/25V 2ตัว
- ทรานซิสเตอร์ BC548 1ตัว
- ไดโอด 1N4007 2ตัว
- รีเลย์(Relay) 12โวลต์ 1ตัว
- แหล่งจ่ายไฟกระแสตรง 12โวลต์
จากวงจรดานบนที่ผมวาดไว้ค่าอุปกรณ์ต่างๆ สามารถหน่วงเวลาได้ 3วินาที ก่อนรีเลย์(Relay) เริ่มทำงานครับโดยการทำงานของวงจรอาศัย 2ตัวหลักในการหน่วงเวลาก็คือ ตัวต้านทานและตัวเก็บประจุ ในการหน่วงเวลาและไป ไบอัสให้กับทรานซิสเตอร์ทำงาน ลองดูรูปภาพด้านล่างประกอบดูครับ ผมวาดให้ดูเพิ่มเติมครับ
วิธีคำนวณหาค่าเพื่อหน่วงเวลา
จากสูตร หาค่าเวลา T = R x C เวลาหน่วยเป็น วินาที(Sec.)
ให้เรานำค่า R(ตัวต้านทาน หน่วย โอห์ม) x C(ตัวเก็บประจุ หน่วย ฟารัด) = ผลลัพธ์ คือ เวลา มีหน่วยเป็นวินาที(Sec.)
โดยจากวงจรให้เรานำค่า C2 และ R1 มาใช้ในการคำนวณครับ *R2 ไม่ต้องนำมาคิดเนื่องจากมีหน้าที่ป้องกันกระแสเฉยๆครับ
ดังนั้นจะได้ C2 = 100ไมโครฟารัด แปลงเป็น 0.0001ฟารัด
R1 = 33กิโลโอห์ม แปลงเป็น 33000โอห์ม
T = R x C
T = 33000 x 0.0001
T = 3.3 วินาที
นอกจากนี้เรายังสามารถใช้ทรานซิสเตอร์ ตัวต้านทาน ตัวเก็บประจุได้ไม่จำกัดนะครับ ขึ้นอยู่กับความสร้างสรรค์และนำไปใช้งานของแต่ละคนครับ
หากเพื่อนๆท่านไหนสงสัยเรื่องทรานซิสเตอร์ ว่าเอ้ทำไมต้องใช้เบอร์นี้หรือมีวิธีเลือกยังไง สามารถดูได้จากเนื้อหาบทความ ไฟกระพริบแบบละเอียด ได้เลยครับ ขอบคุณครับ
ไฟกระพริบแบบละเอียด พื้นฐานที่นำไปใช้ได้จริงครับ
2 ความคิดเห็น
ความคิดเห็นนี้ถูกลบโดยผู้ดูแลระบบของบล็อก
ตอบลบถ้าแหล่งจ่ายไฟ 5V ต้องจัดวงจรอย่างไรครับผม
ตอบลบ