วงจรขยายเสียง ชุดเล็กสุดๆLM386 - วงจรที่3 เด็กอิเล็กทรอนิกส์

หลังจากที่ผมเคยเล่าว่าเคยทำวงจรอะไรมาแล้วก่อนหน้านี้ทั้ง

วงจรไฟกระพริบ ทรานซิสเตอร์ แบบพื้นฐานเด็กอิเล็กทรอนิกส์

       จนถึงบทความนี้ก็เป็น 3วงจรได้ แต่จะว่าไปก็ใช่ว่าอาจารย์ที่โรงเรียนจะสอนแต่วงจรนะครับ ก็มีพวกงานฝึกฝีมือ ความชำนาญด้วยนะครับเช่น ฝึกฝีมือการบัดกรีด้วยการใช้ แผ่นปริ้นแบบไข่ปลา และนำสายไปมาปลอกและบัดกรีทีละรูปริ้น จนครบ100รู หรือตอกตะปู ทองเหลืองลงบนแผ่นไม้ตีเป็นทรงสี่เหลี่ยมและตอกเป็นแนวตาราง จากนั้นใช้ลวดทองแดงพาดทีละแนวๆ และบัดกรีทีละหัวตะปู นี่หล่ะครับที่ผมไม่ได้พูดถึง บางคนอาจเจอยากกว่าผม หรืออาจไม่เคยเจอผมก็ถือโอกาสเล่าประสบการณ์ให้ฟังกันเล่นครับเอาหล่ะ มาดูวงจรในบทความนี้ของเรากัน

วงจรขยายเสียง ชุดเล็กสุดๆLM386

       บางคนอาจสงสัยว่า "ชุดเล็กสุดๆ" มันคืออะไร มันก็คือแบบว่า วงจรขยายที่สามารถทำได้ง่ายและมีขยาดที่เล็กกระทัดลัดครับ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับคนทำด้วยนะว่าจะ โยงสายให้ยืดยาวหรือออกแบบลายปริ้นยังไง

คุณสมบัติของวงจรขยาย LM386

  • ถ้าได้ไปเปิดอ่าน ข้อมูลของไอซีขยายเบอร์นี้จะพบกับคำว่า "Low Voltage Audio Power Amplifier" หรือก็คือ ใช้แรงดันต่ำก็สามารถทำให้ทำงานได้แล้ว
  • เริ่มทำงานได้ที่แรงดัน 4โวลต์ จนถึง 12โวลต์ (ค่าแรงดันตรงนี้ก็มีผลต่อเกณการขยายด้วย)
  • ใช้ได้ดีกับลำโพง 8โอห์ม

แผนภาพวงจร Schematic

ภาพจาก http://tymkrs.tumblr.com/

รายการอุปกรณ์

1. IC 8ขา เบอร์ LM386
2. ตัวเก็บประจุมีขั้ว ชนิด อิเล็กโทรไลต์ ค่า 10uF/16V.
3. ตัวเก็บประจุมีขั้ว อิเล็กโทรไลต์ ค่า 250uF/16V.
4. ตัวเก็บประจุไม่มีขั้ว ไมล่า .05uF
5. ตัวต้านทานค่าคงที่ 10โอห์ม
6. ตัวต้านทานปรับค่าได้ หรือ โวลต์ลุ่ม 1ชั้น 3ขา ค่า 10k.Ohm.
7. ลำโพงขนาดเล็กกระทัดลัด 4-16โอห์ม
8. แหล่งจ่ายไฟฟ้า กระแสตรง DC 4-12โวลต์
9. แจ็ค Audio Jack รูปตัวอย่างด้านล่าง

รู้ไว้ก่อนต่อผิด

Audio Jack หน้าตาแบบนี้ครับ
เรียบร้อยครับถ้าทำสำเร็จรับรองได้เลยครับว่ามีขยายเล็กๆ ได้ฟังไว้อวดโชว์แน่นอนครับ ฮ่าๆ

แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น