ไดโอดเปล่งแสง หรือ ไดโอดที่ถูกพัฒนาต่อยอดมาจาก ไดโอดเรียงกระแสนั่นเอง โดยคุณสมบัติของตัวเค้าเองที่เห็นได้ชัดก็คือ "เปล่งแสง" ได้นั่นเองครับ
หลักการทำงาน
ไดโอดเปล่งแสงมีชื่อเรียกที่นิยมเรียกกันคือ หลอด "LED" คือไดโอดที่สามารถปล่อยแสงออกมาจากตัวเองโดยแสงที่ปล่อยออกมานั้น จะเป็นคลื่นความถี่เดียว ที่มีความคงที่และต่อเนื่องกัน ซึ่งมีความต่างกับแสงธรรมดาทั่วไปที่คนเรามองเห็นได้ครับ และจากองค์ประกอบเหล่านี้นี่เอง มารวมกันและสามารถเปล่งแสงออกมาได้ ส่วนเรื่องสีของแสงที่ปล่อยออกมาก็ขึ้นกับของเหลวหรือสารกึ่งตัวนำที่มาใช้นั่นเอง
ค่าความยาวคลื่นสีของ LED
สีฟ้า มีความยาวคลื่น ประมาณ 468 nm.
สีขาว มีความยาวคลื่น ประมาณ 462 nm.
สีเหลือง มีความยาวคลื่น ประมาณ 468 nm.
สีเขียว มีความยาวคลื่น ประมาณ 565 nm.
สีแดง มีความยาวคลื่น ประมาณ 630 nm.ไดโอดเปล่งแสง กินไฟต่ำ จริง?
ไดโอดเปล่งแสง LED สามารถนำไปใช้แทนหลอดไฟให้แสงสว่างทั่วไปได้ ถ้าหากว่างานที่ใช้ไม่ต้องการความสว่างมาก และ ข้อดีของเจ้าไดโอดเปล่งแสงนี้ คือ กันพลังงานต่ำมากๆ โดยใช้แรงดันเพียง "3 โวลต์" และกระแสเพียง "5-20 mA." เท่านั้นเอง
การนำไปใช้งาน
ในส่วนของการใช้งานนี้เจ้าตัวหลอด LED ของเราต้องมีตัวที่ทำหน้าที่ดรอปลดค่ากระแสจากแหล่งจ่ายลงเพื่อให้ตัวมันเองทำงานได้ก็คือ "ตัวต้านทาน" ซึ่งผมได้เขียนอธิบายวิธีการเลือกใช้และคำนวณไว้แล้วในหัวข้อนี้ครับ
ตัวต้านทานกับการใช้งานจริง - How to use Resistor
0 ความคิดเห็น