ตัวต้านทานกับการใช้งานจริง - How to use Resistor


ตัวต้านทาน คือ
       ตัวต้านทานได้ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อต้านทานกระแสไฟฟ้า ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ทุกวงจรครับ โดยเจ้าตัวต้านทานนี้ มีชื่อเรียกที่ผมเคยได้ยินหรือรู้จักดังนี้ครับ "ตัวต้านทาน"="R"="Resistor" โดยแถบสีที่อยู่บริเวณตัวของตัวต้านทานนั้น มีไว้สำหรับบอกค่าความต้านทานประจำตัวของ ตัวๆนั้น มีทั้งแบบ 4 แถบสีและ 5 แถบสี
หน่วยของความต้านทานคือ โอห์ม [Ohm.]
มีสัญลักษณ์ คือ
 ชนิดของตัวต้านทาน
       ตัวต้านทานสามารถแบ่งตามลักษณะการใช้งานได้ดังนี้
1. ตัวต้านทานค่าคงที่
2. ตัวต้านทานเปลี่ยนค่าได้
3. ตัวต้านทานแต่งค่าได้แบ่งค่าได้

4. ตัวต้านทานชนิดพิเศษ
การนำไปใช้งาน
       หลังจากที่เราได้รู้จักตัวต้านทานและชนิดของตัวต้านทานกันมาบ้างแล้วน่ะครับ ที่นี้เรามาดูการนำตัวต้านทานไปต่อใช้งานกับวงจรง่ายๆ กันครับ
ยกตัวอย่าง การนำ"ตัวต้านทาน"ไปต่อกับหลอดไฟแอลอีดีที่มีแหล่งจ่าย 12 โวลต์
       จากวงจรกำหนดให้ แอลอีดีใช้ไฟเลี้ยง 3 โวลต์และกินกระแส 20mA. เพื่อให้ตัวมันทำงานได้ แต่เมื่อเพื่อนๆสังเกตจากวงจรมีแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรงที่ต่อเลี้ยงวงจรอยู่นั้น มีค่าแรงดัน 12 โวลต์ซึ่งเกินจากค่าที่หลอดไฟ แอลอีดี ของเราจะสามารถรับไหวครับ ดังนั้นเราจึงต้องพึ่งพระเอกของเรานั่นเองครับ "ตัวต้านทาน[Resistor]" สามารถคำนวณได้ดังนี้เลยครับ
E = I/R
E = แรงดันไฟฟ้า มีหน่วยเป็น โวลต์ V.
I = กระแสไฟฟ้า มีหน่วยเป็น แอมป์ A.
R = ค่าความต้านทานของตัวต้านทาน มีหน่วยเป็น โอห์ม
จากวงจรทำให้เราทราบว่า
แหล่งจ่ายไฟ = 12V.
หลอดแอลอีดีกินไฟ 3V. กินกระแส 20mA.
สิ่งที่ต้องการหาคือ ค่าความต้านทานที่นำไปต่อกับแหล่งจ่ายเพื่อเลี้ยงหลอดไฟแอลอีดี
ดังนั้น สามารถคำนวณได้ดังนี้เลยครับ
ก่อนอื่นให้เพื่อนๆคำนวณหาค่าแรงดันที่เหลือหลังจากที่แอลอีดีทำงานโดย
นำแหล่งจ่าย ลบ กับแรงดันที่แอลอีดีใช้ --->> 12-3 = 9 V.
เข้าสูตรหาค่าความต้านทานโดย R = E/I
E = แรงดันที่เราคำนวณได้ 9V.
I = กระแสที่แอลอีดีต้องการคือ 20mA. 
R = 9V. / 20mA. = 450 Ohm. 
เรียบร้อยครับเพียงเท่านี้เราก็ได้ค่าของความต้านทานคือ 450 โอห์ม ต่อเข้ากับวงจรเพื่อให้หลอดแอลอีดีทำงานได้แล้ว
แต่...!!!
       จากข้างต้นวิธีคิดและคำนวณสามารถใช้ได้จริงครับแต่ว่า ค่าความต้านทาน 450 โอห์มนี่ร้านขายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เขาไม่มีขายครับ ดังนั้นเราก็ต้องเลือกค่าที่มากขึ้นนิดหน่อยครับ เป็นสัก 470 โอห์ม เป็นใช้ได้ครับ
เย้!! เรียบร้อยครับ
 ---หากผิดพลาดประการใดขออภัยด้วยนะครับ และหากท่านใดต้องการให้แนะนำสิ่งใดถ้าตัวผมเองสามารถช่วยเหลือหรือตอบได้ก็จะแบ่งปัญความรู้ที่มีอย่างเต็มที่ครับ ขอบคุณครับ

แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น