วงจรเสียงออดประตู ดิ้งด่อง 9V

อุปกรณ์

  1. Q1, Q2 2SC1815 2ตัว
  2. Q3 2SC9013
  3. C1 33uF/16V
  4. C2, C3 0.01uF 2ตัว
  5. R1 50k
  6. R2 10k
  7. R3, R4 33k 2ตัว
  8. R5 5k
  9. R6 27 ohm
  10. D1, D2 1N4148 2ตัว
  11. สวิตซ์ กดติด-ปล่อยดับ
  12. แหล่งจ่ายไฟ 9V

การทำงานของวงจร

เมื่อกดปุ่มแล้วปล่อย จะมีเสียงดังใกล้เคียงกับคำว่า "ดิ้ง ด่อง" ขึ้นมา
โดยวงจรอาศัยหลักการทำงานของ วงจรโมโนสเตเบิ้ลมัลติไวเบเตอร์ - MONOstable Multivibrator
วงจรชนิดนี้จะสร้างพัลส์เอาต์พุตเพียงครั้งเดียวเมื่อได้รับสัญญาณกระตุ้นจากภายนอก หลังจากสร้างพัลส์แล้ว วงจรจะกลับสู่สถานะเสถียรเดิมโดยอัตโนมัติ

หากท่านใดต้องการหาข้อมูลเชิงลึก สามารถนำคำนี้ไปค้นหาได้ครับ

ผมจะขออธิบายการทำงานวงจร ให้เข้าใจได้ง่ายๆขึ้นดังด้านล่างนี้เลยครับ

  • ให้มองทรานซิสเตอร์ เป็น สวิตซ์ ที่ใช้ไฟบวก(NPN) หรือ ลบ(PNP) ในการสั่งให้ทำงาน

วิธีทำให้ส่วนที่ 1 และ 2 ทำงาน

ต้องมีไฟบวกจ่ายให้กับขา B ของทรานซิสเตอร์ ชนิด NPN

ภาพแสดงการจ่ายไฟให้ทรานซิสเตอร์ เทียบกับสวิตซ์

ระยะเวลาการทำงาน ของส่วนที่ 1, 2

ตัวต้านทานในส่วนที่ 1 และ 2 นั้นทำหน้าที่ ลดกระแสที่เข้าจ่ายให้กับขา B ของทรานซิสเตอร์ และ R ที่ต่อระหว่างทรานซิสเตอร์ที่ทำงานเป็น สวิตซ์ นั้นช่วยลดเวลาในการคลายประจุของ C ตัวเก็บประจุ โดยสามารถคำนวณเวลา ได้จากสูตร

T = R x C

T = เวลา หน่วยเป็น วินาที

R = ค่าความต้านทานของตัวต้านทาน หน่วยเป็น โอห์ม

C = ค่าความจุของตัวเก็บประจุ หน่วยเป็น ฟารัด

วงจรส่วนที่ 1 จากวงจรข้างต้น R = 10k และ C = 0.01uF

นำทั้งสองค่ามาคูณกัน โดยแปลงเป็นหน่วยโอห์ม และ ฟารัด

10000 โอห์ม x 0.00000001 ฟารัด

= 0.0001 วินาที

วงจรส่วนที่ 2 จากวงจรข้างต้น R = 5k และ C = 0.01uF

นำทั้งสองค่ามาคูณกัน โดยแปลงเป็นหน่วยโอห์ม และ ฟารัด

5000 โอห์ม x 0.00000001 ฟารัด

= 0.00005 วินาที

ส่วนที่ 1 และ 2 สลับกันทำงานยังไง ?



แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น