สร้างมิเตอร์วัดความต้านทาน 0-1Mโอห์ม Arduino Resistance Meter

มิเตอร์วัดความต้านทาน คืออะไร?

    คือมัลติมิเตอร์ที่ เราสามารถทำได้เองง่ายๆ โดยใช้เพียงบอร์ด Arduino และ ตัวต้านทานแค่ 4ตัวก็วัดได้หมดแล้ว แต่ถ้าให้ใช้งานได้สะดวกแนะนำให้หาดิฟสวิทซ์ หรือ สวิทซ์อะไรที่สามารถทำงานได้ใกล้เคียงกัน

คุณสมบัติ

  •  วัดค่าความต้านทานได้ตั้งแต่ 0โอห์ม ไปจนถึง 1,000,000โอห์ม (0-1MOhm)
  • แสดงค่าเป็นตัวเลขดิจิตอล ทศนิยม 2หลักผ่านทาง Serial Port 9600 พร้อมทั้งบอกค่าระยะการวัดตามการเปิดของ ดิฟสวิทซ์ เช่น 1-2k, 2k-20k เป็นต้น
  • ต้องเท่แน่ๆ XD

อุปกรณ์
  1. บอร์ด Arduino ตามตัวอย่างคือ Arduino UNO ถ้าใช้รุ่นอื่นแค่เปลี่ยนพอร์ด Analog ก็ใช้ได้
  2. ตัวต้านทานค่า 2kΩ จำนวน 1ตัว
  3. ตัวต้านทานค่า 20kΩ จำนวน 1ตัว
  4. ตัวต้านทานค่า 200kΩ จำนวน 1ตัว
  5. ตัวต้านทานค่า 1MΩ จำนวน 1ตัว
  6. ดิฟสวิทซ์ DIP Switch แบบ 4ช่อง จำนวน 1ตัว
Code Program :

int ap01 = 0;
int ap02 = 1;
int ap03 = 2;
int ap04 = 3;
int raw01 = 0;
int raw02 = 0;
int raw03 = 0;
int raw04 = 0;
int Vin = 5;
float Vout = 0;
float R1_2k = 2000;
float R1_20k = 2000;
float R1_200k = 2000;
float R1_1M = 2000;
float R2 = 0;
float buffer = 0;

void setup(){
Serial.begin(9600);
}

void loop(){
  raw01 = analogRead(ap01);
  raw02 = analogRead(ap02);
  raw03 = analogRead(ap03);
  raw04 = analogRead(ap04);
  
  if(raw01){
    buffer = raw01 * Vin;
    Vout = (buffer)/1024.0;
    buffer = (Vin/Vout) - 1;
    R2= R1_2k * buffer;
    Serial.print("Range : 0-2k\n");
    Serial.print("Vout: ");
    Serial.println(Vout);
    Serial.print("R2: ");
    Serial.println(R2);
    delay(1000);
  }
  
  if(raw02){
    buffer = raw02 * Vin;
    Vout = (buffer)/1024.0;
    buffer = (Vin/Vout) - 1;
    R2= R1_20k * buffer;
    Serial.print("Range : 2k-20k\n");
    Serial.print("Vout: ");
    Serial.println(Vout);
    Serial.print("R2: ");
    Serial.println(R2);
    delay(1000);
  }
}
หลักการทำงาน

 ดิฟสวิทซ์ แต่ละตัวที่ถูกต่ออยู่กับตัวต้านทานแต่ละตัว โดยแต่ละตัวจะทำหน้าที่วัดขนาดของความต้านทานต่างกันออกไปดังนี้

  • R 2kΩ วัดได้ตั้งแต่ 2Ω - 2kΩ
  • R 20kΩ วัดได้ตั้งแต่ 2Ω - 20kΩ
  • R 200kΩ วัดได้ตั้งแต่ 20Ω - 200kΩ
  • R 1MΩ วัดได้ตั้งแต่ 200Ω - 1MΩ
ดังนั้นการใช้งาน Dip Switch คือใช้ทีละตัวพอต้องการเปลี่ยนขนาดการวัด ก็ดิฟกลับมาที่เดิมแล้วดิฟตัวที่ต้องการแทน
วิธีการวัดนี้ใช้หลักการของ วงจรแบ่งแรงดันในการหาค่าตัวต้านทาน R1 ที่เราไม่รู้ค่าหรือต้องการเปรียบเทียบค่าก็ตามแต่
สูตร    R1 = R2((Vin / Vout) - 1)




แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น