ตัวต้านทานมีหลายชนิดให้เลือกใช้งาน แต่ชนิดที่ถูกใช้งานบ่อยๆก็จะเป็นแบบ คาร์บอน(4 แถบสี ค่าผิดพลาด 5%) และ ฟิล์ม(5 แถบสี ค่าผิดพลาด 1%) ซึ่งการอ่านค่าความต้านทานจะใช้การอ่านแถบสี บนตัวของตัวต้านทาน(Resistor) โดยจะมีตารางเทียบค่าให้ครับ
ตารางเทียบค่าสีตัวต้านทาน
สี |
ตัวตั้ง |
ตัวคูณ |
ค่าคลาดเคลื่อน |
ดำ |
0 |
1 |
|
น้ำตาล |
1 |
10 |
± 1% |
แดง |
2 |
100 |
± 2% |
ส้ม |
3 |
1,000 |
|
เหลือง |
4 |
10,000 |
|
เขียว |
5 |
100,000 |
± 0.5% |
น้ำเงิน |
6 |
1,000,000 |
± 0.25% |
ม่วง |
7 |
10,000,000 |
± 0.1% |
เทา |
8 |
± 0.05% |
|
ขาว |
9 |
||
ทอง |
0.1 |
± 5% |
|
เงิน |
0.01 |
± 10% |
|
ไม่มีแถบสี |
± 20% |
วิธีและรูปแบบการอ่านค่าสี
แบบ 4 แถบสี |
แบบ 5 แถบสี |
แถบสีที่ 1 ตัวตั้ง |
แถบสีที่ 1 ตัวตั้ง |
แถบสีที่ 2 ตัวตั้ง |
แถบสีที่ 2 ตัวตั้ง |
แถบสีที่ 3 ตัวคูณ |
แถบสีที่ 3 ตัวตั้ง |
แถบสีที่ 4 ค่าความคลาดเคลื่อน |
แถบสีที่ 4 ตัวคูณ |
|
แถบสีที่ 5 ค่าความคลาดเคลื่อน |
ยกตัวอย่างเช่น มีตัวต้านทานค่า 10000โอห์ม หรือ 10กิโลโอห์ม ถ้าเป็นแถบสีจะได้ดังนี้ 4แถบ (น้ำตาล, ดำ, ส้ม, ทอง) ส่วนของ 5แถบ (น้ำตาล, ดำ, ดำ, แดง, น้ำตาล) นั่นคือค่าที่ถูกต้อง แต่วิธีการอ่านมีดังนี้ครับสามารถทำตามได้เลยง่ายๆ
|
10kΩ แบบ 4แถบสี |
10kΩ แบบ 5แถบสี |
สีที่ 1 |
น้ำตาล = 1 |
น้ำตาล = 1 |
สีที่ 2 |
ดำ = 0 |
ดำ = 0 |
สีที่ 3 |
ส้ม = 1000 |
ดำ = 0 |
สีที่ 4 |
ทอง = ±5% |
แดง = 100 |
สีที่ 5 |
- |
น้ำตาล = ±1% |
ตัวอย่าง
ส้ม|ดำ|แดง|ทอง
3 | 0 | 100 | ค่าผิดพลาด 5%
ตอบ 3000Ω หรือ 3kΩ ±5%
เขียว|ดำ|ดำ|ทอง
5 | 0 | 10 | ค่าผิดพลาด 5%
ตอบ 50Ω ±5%
เหลือง|ม่วง|เขียว|ทอง
4 | 7 | 100000 | ค่าผิดพลาด 5%
ตอบ 4,700,000Ω หรือ 4.7MΩ ±5%
ส้ม|ดำ|ดำ|น้ำตาล|น้ำตาล
3 | 0 | 0 | 10 | ค่าผิดพลาด 1%
ตอบ 3,000Ω หรือ 3kΩ ±1%
เขียว|ดำ|ดำ|ทอง|น้ำตาล
5 | 0 | 0 | 0.1 | ค่าผิดพลาด 1%
ตอบ 50Ω ±1%
เหลือง|ม่วง|ดำ|เหลือง|น้ำตาล
4 | 7 | 0 | 10000 | ค่าผิดพลาด 1%
ตอบ 4,700,000Ω หรือ 4.7MΩ ±1%
การอ่านรหัส ตัวต้านทานแบบ SMD
จากที่ผมได้ลองค้นหาข้อมูลวิธีการอ่าน Resistor ตัวต้านทานแบบ SMD จึงได้พบว่ามีการอ่านอยู่ 2แบบด้วยกันดังนี้
1. การอ่านค่าแบบตัวเลข 3 และ 4 หลัก(วิธีคล้ายแบบโค้ดสี)
จากเดิมที่เราต้องแปลงค่าจากสีออกมาเป็นตัวเลขก่อนจึงจะนำมาคำนวณค่าได้แต่ ตัวต้านทานแบบ SMD นั้นมีให้มาเป็นตัวเลขแล้ว โดยตัวต้านทานแบบ SMD จะมีแบบตัวเลข3และ4หลัก โดย "ตัวเลขตัวสุดท้าย" จะเป็นตัวคูณ
เช่น ตัวต้านทาน SMD ค่า 331 นำมาคิดจะได้เป็น 33 x 10^1 จะมีค่าเท่ากับ 330โอห์ม
ถ้ามีตัวอักษร R อยู่ด้วยจะเป็นการใส่ จุดครับ เช่น 2R7 ค่าที่ได้จะเป็น 2.7โอห์ม | R382 ค่าที่ได้จะเป็น 0.382โอห์ม
ถ้าบนตัวของ ตัวต้านทาน SMD มีเพียงเลข 0 หรืออาจมองเป็นตัวอักษร O นั่นก็คือ 0ศูนย์โอห์ม หรือจั้มเปอร์
เช่น ตัวต้านทาน SMD ค่า 331 นำมาคิดจะได้เป็น 33 x 10^1 จะมีค่าเท่ากับ 330โอห์ม
ถ้ามีตัวอักษร R อยู่ด้วยจะเป็นการใส่ จุดครับ เช่น 2R7 ค่าที่ได้จะเป็น 2.7โอห์ม | R382 ค่าที่ได้จะเป็น 0.382โอห์ม
ถ้าบนตัวของ ตัวต้านทาน SMD มีเพียงเลข 0 หรืออาจมองเป็นตัวอักษร O นั่นก็คือ 0ศูนย์โอห์ม หรือจั้มเปอร์
**ถ้ามีตัวอักษร R ให้ใส่จุด เช่น 2R7 คือ 2.7โอห์ม
**ถ้ามีตัวอักษร 0หรือO คือค่า 0 ศูนย์โอห์ม
ตอบ 0.338Ω
2. การอ่านค่าแบบระบบ EIA-96
จากการที่ผมได้ค้นหาข้อมูล จากเว็บไซต์ต่างประเทศ จึงพบว่ามีการใช้ระบบนี้ในการอ่านหรือแปลค่า ที่เรียกว่า "EIA-96 SYSTEM" ถ้าจะให้ท่องจำก็ยากอยู่ จึงมีมาเป็นตารางเทียบดังนี้
Code | ตัวคูณ |
---|---|
Z | 0.001 |
Y/R | 0.01 |
X/S | 0.1 |
A | 1 |
B/H | 10 |
C | 100 |
D | 1,000 |
E | 10,000 |
F | 100,000 |
0 ความคิดเห็น