ตัวแปร ชนิดต่างๆ และ การเรียกใช้งานในโปรแกรม Autoit Variable

ตัวแปรในโปรแกรม Autoit Variable คือ สิ่งที่ใช้เก็บข้อมูล รูปแบบต่างๆเช่น ข้อมูลตัวอักษร, ตัวเลข, จำนวนเต็ม, ทศนิยม, ค่าคงที่ต่างๆ โดยตัวแปรจะถูกกำหนดชื่อ และ เรียกใช้ได้แต่ผมจะขอยกเป็นตัวแปรที่ผมเคยได้ใช้ นะครับเพราะว่า ตัวแปรบางอย่างผมไม่เคยใช้ไม่กล้าแนะนำครับ

ตัวแปรชนิดต่างๆ ที่ผมนิยมใช้

ชนิดตัวแปร ข้อมูล ตัวอย่าง[Example]
Arrays ตัวแปรที่สามารถเก็บข้อมูลได้หลายชุด $array[0],$array[1]
Booleans ตัวแปร จริงหรือเท็จ True or False $bBool = True
Binaries ตัวแปรเลขฐานคอมพิวเตอร์ $dBinary = Binary("0x80000000")
Constant Variable ตัวแปรสำหรับเก็บค่าคงที่ ประกาศแล้วแก้ค่าไม่ได้ Const $eEulersConstant = 2.7182818284590452
Floating Point เก็บค่าทศนิยม $fFloat = 0.123
Integer เก็บค่าจำนวนเต็ม $iInteger = 10
Strings (Chars included) เก็บค่าตัวอักษร ในรูปแบบข้อความ  $sString = "Hello world"

จากตารางข้างต้นเป็นตัวแปรแบบต่างๆที่ ผมเคยใช้นะครับ นอกเหนือจากนี้ยังมีอีกนะครับแต่ผมคิดว่าคงไม่ได้ใช้ แต่สำหรับใครใช้ก็ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่นี่ https://www.autoitscript.com/autoit3/docs/intro/lang_variables.htm
สำหรับการอธิบายว่าตัวแปร แต่ละตัวทำหน้าที่แบบไหนและตัวอย่าง ผมขออธิบายตามที่ผมเข้าใจครับ
การสร้างตัวแปรอย่าลืมใส่ $ ข้างหน้าชื่อตัวแปรเสมอครับ

Arrays - อาเรย์

มีหน้าที่ : เก็บข้อมูลหลายๆชุด
ยกตัวอย่าง : มีเลขทั้งหมด 10ชุด โดยมีเลข 1ถึง10 ต้องการนำไปเก็บไว้ยังตัวแปรชื่อ numbers และเรียกใช้งาน สามารถทำได้ดังนี้เลยครับ (จากภาพตัวอย่างผมต้องการแสดงเลข 5)
Local $numbers01[10]
$numbers01[0] = 1
$numbers01[1] = 2
$numbers01[2] = 3
$numbers01[3] = 4
$numbers01[4] = 5
$numbers01[5] = 6
$numbers01[6] = 7
$numbers01[7] = 8
$numbers01[8] = 9
$numbers01[9] = 10
ConsoleWrite("Ans======>" & $numbers01[4])

Booleans - บูลีนจริงเท็จ

มีหน้าที่ : เก็บค่าจริงหรือเท็จ True False
ยกตัวอย่าง : บูลีน จะถูกใช้ในกรณี ที่ต้องการทราบแค่ 2ค่า คือ มี ไม่มี จริง หรือไม่จริงโดยของยกตัวอย่างการเช็คเงื่อนไข โดยการสร้างเงื่อนไขจะสอนในบทต่อๆไปครับ

$bool01 = True
$bool02 = False

If $bool01 == True Then
	MsgBox("","","$bool01 มีค่า จริง")
EndIf

If $bool02 == False Then
	MsgBox("","","$bool02 มีค่า ไม่จริง")
EndIf

Binaries - ไบนารี่

มีหน้าที่ : เก็บข้อมูลเลขฐาน จากที่ผมใช้ก็มีไว้ใช้เก็บค่า รหัสโค้ดสี เวลาผมเขียนจับสีครับ
ยกตัวอย่าง : เขียนโปรแกรมเช็คค่าสี ถ้าเจอ สีแล้วขึ้นแจ้งเตือน(สำหรับใครที่Copyคำสั่งข้างล่างไปลองแล้วไม่ได้ เนื่องจากเกิดจากขนาดหน้าจอของแต่ละท่านนะครับ ไม่เท่ากันต้องหาค่าใหม่)

$colorCode = Binary(0x007F00)

If PixelGetColor(403, 711, $colorCode) Then
	MsgBox("","","Alert!!! เจอสีแล้ว")
EndIf

Constant Variable - ตัวแปรแบบค่าคงที่

มีหน้าที่ : เก็บค่าคงที่ โดยเมื่อประกาศตัวแปรและค่าตัวนี้แล้ว จะไม่สามารถแก้ไขค่าได้เลย
ยกตัวอย่าง : ประกาศตัวแปรขึ้นมา เก็บค่าๆนึง แล้วลองรับค่า อินพุต ใหม่กับตัวแปรดู จะพบว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงครับ ก็คือเหมือนเก็บค่าได้เพียงค่าเดียวนั่นเองครับ

#include <ButtonConstants.au3>
#include <EditConstants.au3>
#include <GUIConstantsEx.au3>
#include <WindowsConstants.au3>
#Region ### START Koda GUI section ### Form=
$Form1 = GUICreate("Form1", 139, 77, 192, 124)
$Input1 = GUICtrlCreateInput("", 8, 8, 121, 21)
$Button1 = GUICtrlCreateButton("Button1", 32, 40, 75, 25)
GUISetState(@SW_SHOW)
#EndRegion ### END Koda GUI section ###

While 1
	$nMsg = GUIGetMsg()
	Switch $nMsg
		Case $GUI_EVENT_CLOSE
			Exit
		Case $Button1
			Const $const01 = GUICtrlRead($Input1)
			ConsoleWrite($const01)
	EndSwitch
WEnd

Float - เก็บค่าทศนิยม

มีหน้าที่ : เก็บข้อมูลตัวเลขที่เป็นแบบทศนิยม
ตัวอย่าง : อย่างเราอยากเก็บข้อมูลที่เป็นตัวเลขจำนวนเต็มก็จะใช้ Integer ส่วนของทศนิยมก็คือ Float แต่สำหรับภาษาที่ใช้ใน Autoit นั้นทำไว้ให้สามารถใช้ได้โดยไม่จำเป็นต้องประกาศตัวแปร ก็สามารถใช้ได้เลยครับลองดูตัวอย่างกัน ยิ่งพิมพ์ยิ่ง งง ผมว่า ชักงงตัวเองละฮ่าๆ

$floating = 0.1234567891

ConsoleWrite($floating)

Integer - เก็บค่าจำนวนเต็ม

มีหน้าที่ : เก็บค่าจำนวนเต็ม บวก หรือ ลบ
ตัวอย่าง : เหมือนกับหัวข้อก่อนหน้านี้ครับ คือ เราต้องการจำแนกระหว่างจำนวนเต็มและทศนิยมออกจากกัน แสดงให้เห็นการใช้งานเลยแล้วกันครับ

$integer01 = 10
$integer02 = -10

ConsoleWrite($integer01)
ConsoleWrite("=======")
ConsoleWrite($integer02)

String - เก็บข้อมูลข้อความ ตัวอักษร

มีหน้าที่ : เก็บข้อมูล ในรูปแบบของตัวอักษร
ตัวอย่าง : ข้อมูลจะถูกนำมาเก็บไว้ภายใต้เครื่องหมาย "ข้อความที่ต้องการ" เช่นประกาศตัวแปร $stringer = "หิวข้าวจังเลย" หิวข้าวจังเลย ก็จะกลายเป็น ข้อมูลชนิด String แล้วครับ อีกอย่าง ถ้าเอาใส่ตัวเลขใดๆลงภายในเครื่องหมายฟันหนู "" ก็จะนับว่าเป็น String เช่นกันครับ อ่อฟันหนูแบบเดี่ยวก็ใช่นะ 'ข้อความ'

$siringer = "123456789Hello"
$stringer02 = '123456789Hello'

MsgBox("","ทดสอบ",$siringer & $stringer02)

แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น