- ทรานซิสเตอร์ BC548 3ตัว
- ไดโอด 1N4007 6ตัว
- ตัวเก็บประจุ 100uF/25V
- ตัวต้านทาน 8.2K 3ตัว
- ตัวต้านทาน 100โอห์ม 1ตัว
- ตัวต้านทาน 100K 1ตัว
- ตัวต้านทาน 1.2K 1ตัว
- ตัวต้านทาน 39K 1ตัว
- รีเลย์ แบบ 2คอนแทรก หรือ สามารถใช้ 1คอนแทรก 2ตัวก็ได้
- แหล่งจ่ายไฟเลี้ยง 12โวลต์
มีไว้ทำอะไรดียังไง ไม่ใช้ไม่ได้หรือ?
วงจรป้องกันลำโพงมีไว้ใช้ทำอะไรหนะหรือ ก็ชื่อของมันก็บอกอยู่อย่างชัดเจนครับว่า ป้องกันลำโพง ซึ่งสาเหตุที่ลำโพงเราจะเสียได้เมื่อต่อกับเครื่องขยายเสียง ก็คือ การที่มีไฟออกมาไม่ว่าจะเป็น ไฟบวก(+) หรือ ไฟลบ(-) ก็สามารถทำให้ลำโพงของเราไหม้ และเสียในที่สุด แล้วถ้าถามว่าแล้วไฟมันออกมาจากเครื่องขยายได้ยังไงหละ ก็เพราะขยายของเรามีปัญหา หรือ วงจรภายในช็อทอุปกรณ์ใดๆเสียหายจึงส่งผลให้มีไฟออกลำโพงนั่นเองครับ
ดังนั้นวิธีป้องกันง่ายที่สุดคือ หาวงจรตรวจจับไฟที่ออกมาจากชุดวงจร ขยายก่อนออกไปยังลำโพงของเรา โดยมีรีเลย์ ทำหน้าที่ในการตัดต่อระหว่างสายลำโพงสายในและภายนอก เรียกรวมๆว่า “วงจรป้องกันลำโพง”
ไม่ใช้ได้ไหม? ถ้าหากไม่ใช้วงจร ป้องกันลำโพงก็ ไม่มีปัญหาอะไรครับ มันเพียงทำหน้าที่ป้องกันและยืดอายุการใช้งานของ ลำโพงเท่านั้นครับ
นอกจากป้องกันได้แล้วมีอะไรดีอีกหละ? นอกจากป้องกันไฟออกลำโพงได้แล้ว วงจรก็มีการหน่วงเวลาก่อนตัดต่อให้ รีเลย์ทำงานด้วยนะ อยู่เวลาประมาณ 1วินาที ก่อนทำงานซึ่งข้อดีก็คือช่วยป้องกันเสียงดังตุ้บออกลำโพง
การทำงานของวงจร
อาศัยหลักการคือ “ถ้ามีไฟบวก หรือ ไฟลบออก” มาจากวงจรขยาย วงจรจะป้องกันไม่ให้รีเลย์ทำงาน ดังนั้นเมื่อนำลำโพงมาต่อก็จะไม่ดังคือการป้องกันลำโพงของเรานั่นเอง การอธิบายขอเริ่มจากจำลองว่า มีไฟบวกออกจากลำโพงข้าง “ซ้าย” นะครับ
ขณะวงจรทำงานปกติ อะไรทำงานบ้าง?
วงจรป้องกันลำโพงนี้ก็ลองศึกษากันดูครับ ไม่ยากเกินไป และยังสามารถนำไปใช้ได้จริงด้วย บทความต่อๆไปผมจะพยายามเขียนให้เข้าใจง่ายขึ้นนะครับหากมีข้อสงสัยยังไงก็สอบถามได้ครับ ขอบคุณครับ
0 ความคิดเห็น