ทรานซิสเตอร์ Transistor เบื้องต้น

อธิบาย เล็กๆน้อยๆ

       เนื้อหาบทความนี้ ผมได้รวบรวมมา และ นำมาอธิบายให้เพื่อนๆ เข้าใจในแบบฉบับ ของผมเองโดยจะมุ่งเน้น ให้เข้าใจได้ง่ายที่สุด จะพยายามอธิบายในเชิงปฏิบัติหรือการเปรียบเทียบ ส่วนเรื่องอะไรที่มันลึกจนเกินไปหรือยากเกินไปผมจะไม่ขอกล่าวหรือนำมาเขียนนะครับ เพราะผมเองก็ยังใช้ไม่ถึงเหมือนกันครับ ฮ่าๆ

รูปร่าง และ สัญลักษณ์


ทรานซิสเตอร์ คือ...

       อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ สามารถนำไปใช้งานด้าน ขยายสัญญาณ หรือใช้เป็นสวิตซ์ โดยทรานซิสเตอร์สามารถพบได้ในเกือบทุกๆ อุปกรณ์ ยกตัวอย่างเช่น เครื่องขยายเสียง ถึงแม้รูปร่างหน้าตาของมันจะเปลี่ยนไปเช่นไรก็ตาม แต่หน้าที่และคุณสมบัติยังคง เหมือนเดิม 

ทรานซิสเตอร์ แบ่งได้ 2 ชนิด

ที่สามารถจำแนกชนิดออกมาเป็น 2 ชนิดได้เนื่องจาก การจัดเรียงและชนิดของสารกึ่งตัวนำไม่เหมือนกัน และ การใช้งานการจ่ายไฟ ก็ตรงกันข้ามกันอีกด้วย โดยผมจะอธิบาย NPN ก่อนจากนั้นตามด้วย PNP

ทรานซิสเตอร์ชนิด NPN

จากภาพเป็น การไบอัส ตรง ทรานซิสเตอร์ชนิด NPN

ทรานซิสเตอร์ชนิด PNP

จากภาพเป็น การไบอัส ตรง ทรานซิสเตอร์ชนิด PNP
การ ไบอัสตรง(Forward Bias) คือ การทำให้ทรานซิสเตอร์นำกระแสโดยจ่ายแรงดันให้ตรงตามที่ต้องการ หรือถูกขั้วนั่นเอง
การ ไบอัสกลับ(Reverse Bias) คือ การที่ทำให้ทรานซิสเตอร์ไม่นำกระแสหรือจ่าย แรงดันกลับขั้วไม่ตรงตามที่ทรานซิสเตอร์ต้องการ 

วงจรสวิตซ์ ทรานซิสเตอร์

       เอาหละครับหลังจากเริ่มรู้จักเจ้า Transistor กันมาบ้างแล้วมาลองดู วงจรสวิตซ์ทรานซิสเตอร์กันมั่ง จริงๆ แล้วก็ไม่มีอะไรครับ แค่เหมือนการต่อไฟให้ติดเฉยๆ เอง แต่จะใช้ ทรานซิสเตอร์ทำหน้าที่เป็นสวิตซ์อิเล็กทรอนิกส์ให้เรา เล่าไปก็ "งง" ไปดูจำลองการทำงานและวงจรสมูลที่ผมทำเตรียมไว้กันดีกว่า
ส่วนของภาพประกอบ

จากวงจรด้านบน สามารถสังเกตได้ไม่ยากคือ เมื่อเรากดสวิตซ์ไฟติด และ เมื่อไม่กดหรือยกสวิตซ์ขึ้นไฟดับ อาจจะมองว่า เอ้าก็ปกติหนิ การปิดเปิดสวิตซ์ จ่ายไฟไม่จ่ายไฟก็ธรรมดา แต่ถ้าดูให้ดี สวิตซ์ในวงจรไม่ได้ต่อโดยตรงกับ หลอดไฟ LED แต่ต่อเข้ากับ ขา Base ของทรานซิสเตอร์ เพื่อทำการไบอัสตรง ให้กับทรานซิสเตอร์ และเมื่อทรานซิสเตอร์นำ กระแส จึงทำให้วงจรทำงานครบวงจร LED ติด (ผมอยากให้มองว่า เมื่อกดสวิตซ์ จึงทำให้ทรานซิสเตอร์ทำงานเหมือนเป็นสะพานไฟ สับขา E มายัง ขา C น่าจะมองออกง่ายกว่าครับ) *การมองลักษณะนี้คือ วงจรทรานซิสเตอร์สวิตซ์นะครับ ส่วนวงจรอื่นๆค่อยว่ากันอีกที

วงจร สมมูล ทรานซิสเตอร์สวิตซ์

จากวงจร เมื่อเรากด สวิตซ์ดังภาพ ทำให้กระแส ไหลผ่าน ตัวต้านทาน R2 ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมกระแสการไบอัสให้กับ ทรานซิสเตอร์ เข้าไปยังขา Base ซึ่งทรานซิสเตอร์เป็นชนิด NPN มีไฟบวกมาที่ขา Base เกิดการไบอัสตรง ทรานซิสเตอร์นำกระแส ทำให้กระแสไหลผ่าน ครบวงจร โดยจากภาพจะเห็นว่ามี กระแส Ic ไหลผ่านหลอด LED ไปยังขา E เกิดเป็นกระแส Ie โดยในวงจรสมมูล ทรานซิสเตอร์ผม เปรียบเป็นสวิตซ์เพื่อให้เข้าใจง่าย เมื่อมีไบอัสตรงที่ขา B ทำให้ทรานซิสเตอร์ในรูปของสวิตซ์ ถูกสับลง เปรียบเสมือน นำหลอด LED มาต่อไฟ + และ - ทำให้ LED ทำงาน

รวมเรื่อง ทรานซิสเตอร์-Transistor

บทความนี้คือ หัวข้อใหญ่ รวมเรื่องทรานซิสเตอร์ทั้งหมด เอาแบบว่าเข้าไป รู้หมดทุกอย่างเลยยิ่งดีนะเอกนะ
Link - การไบอัสทรานซิสเตอร์แบบต่างๆ Sim รูปแบบการไบอัส และ โชรูปคลื่นที่ขยายหรือความต่างแต่ละอัน

แสดงความคิดเห็น

1 ความคิดเห็น

Emoji
(y)
:)
:(
hihi
:-)
:D
=D
:-d
;(
;-(
@-)
:P
:o
:>)
(o)
:p
(p)
:-s
(m)
8-)
:-t
:-b
b-(
:-#
=p~
x-)
(k)