R,L,C ต่อไฟฟ้ากระแสสลับ กับ คุณสมบัติที่เปลี่ยนไป

อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำอย่าง R, L, C เมื่ออยู่ในวงจรที่มีแหล่งจ่ายไฟเป็น AC ไฟฟ้ากระแสสลับ จะมีคุณสมบัติที่แตกต่างออกไปเมื่อเทียบกับไฟกระแสตรง DC โดยเมื่อพวก R, L, C อยู่ในไฟกระแสสลับจะผลในการต้านทานกระแสไฟฟ้า ที่เรียกว่าค่า Impedance
Impedance ,Z คือ ค่าความต้านทาน ต่อ ไฟฟ้ากระแสสลับ
Reactance, X คือ ค่าความต้านทานของอุปกรณ์ L,C ต่อไฟฟ้ากระแสสลับ
โดยเมื่อ R, L, C อยู่ในไฟฟ้ากระแสสลับ
R = ตัวต้านทาน อันนี้คุณสมบัติเหมือนเดิมครับ ต้านทานกระแสไฟฟ้าทั้งสลับและตรง
XL = Inductive Reactance ค่าความต้านทานของ ขดลวด ที่มีผลต่อไฟฟ้ากระแสสลับ
คุณสมบัติของ L คือ เมื่อความถี่ยิ่งสูงความต้านทานของตัวมันจะยิ่งสูงขึ้นด้วย
XC = Capacitive Reactance ค่าความต้านทานของ ตัวเก็บประจุ ที่มีผลต่อไฟฟ้ากระแสสลับ

โดยค่าความต้านทานสามารถหาได้จากสูตรดังต่อไปนี้
XL = 2πfL
XC = 1/(2πfC) หรือ เศษ 1 หาร 2πfC
เมื่อคำนวณค่าออกมาแล้ว หน่วยคือ โอห์ม Ω

ตัวอย่าง

มีขดลวดมีค่า 150mH อยากทราบค่าความต้านทาน เมื่อต่อกับไฟกระแสสลับ 220V. ความถี่ 50Hz
จากสูตร XL = 2πfL
XL = 2*3.14*50Hz*0.15H
ค่าความต้านทานเมื่อจ่ายไฟสลับ 220V/50Hz มีค่า = 47.1 Ω

ตัวเก็บประจุมีค่าความจุ 0.2nF ต่อกับไฟฟ้ากระแสสลับ 220V. ความถี่ 50Hz
จากสูตร XC = 1/(2πfC)
XC = 1/(2*3.14*50Hz*0.00000000002F)
ค่าความต้านทานเมื่อจ่ายไฟสลับ 220V/50Hz มีค่า = 166,666,666.7 Ω
หรือแปลงค่าได้เป็น 166.66 MΩ
จะสังเกตได้ว่า ยิ่งค่าตัวเก็บประจุยิ่งน้อยความต้านทานยิ่งมาก
โดยจะพบตัวเก็บประจุต่อ เพื่อดรอปไฟลง ในวงจร ราคาถูก อย่างสินค้าจากจีนบางชนิดครับ การใช้งานก็มีความเสี่ยงสูงอยู่เหมือนกันครับ
ภาพข้างบน เป็นตัวอย่าง วงจรดรอปไฟ 220V.AC โดยพระเอกของวงจรนี้คือ C1 ครับไว้คราวหน้าจะมาอธิบายวิธีหาค่าและการทำงานให้นะครับ สำหรับเนื้อหาบทความนี้ ขอขอบคุณครับ

แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น