ดังนั้นการไบอัสจึงมีอยู่ 2สถานะคือ ทำงาน และ ไม่ทำงาน หรือ ไบอัสตรง(Forward Bias) และ ไบอัสกลับ(Reverse Bias)
สิ่งที่ต้องรู้
ก่อนการ ไบอัส(Bias) ให้กับทรานซิสเตอร์ของเรา สิ่งที่ต้องรู้มีดังนี้ครับ
- ชนิดของทรานซิสเตอร์ (Transistor Type) ตัวนั้นๆที่ต้องการไบอัส(Bias) ว่าเป็นชนิด PNPหรือNPN เพราะการไบอัสจะแตกต่างกัน
- สารกึ่งตัวนำ PและN ไฟบวกหรือลบต้องใช้กับชนิดไหน
- โครงสร้างของทรานซิสเตอร์ (Transistor structure) เบอร์ที่นำมาไบอัสหรือใช้งาน ว่าขาไหนคือขาไหน B,C,E เพราะขาแต่ละเบอร์จะไม่เหมือนกันเสมอไป โดยวิธีง่ายสุดคือพิมพ์ค้นหา Datasheet เบอร์ที่ต้องการเพื่อดูข้อมูลก่อนใช้งาน
- คล่าวๆก็ประมาณนี้ครับ ส่วนการจัดวงจรหรือการกำหนดค่าอุปกรณ์อื่นๆไว้หัวข้ออื่นครับเดี๋ยวเพื่อนๆมือใหม่จะไม่เข้าใจซะก่อน ไปกันต่อครับลุย!
ไบอัสตรง(Forward Bias)
ไบอัสตรงถ้าพูดให้เข้าใจง่ายๆก็คือ ต่อไฟตรงให้มันทำงานได้ ประมาณนั้นครับ ทรานซิสเตอร์อยากได้ไฟอะไรถึงทำงานเราก็จะต่อไฟที่ต้องการให้เลย ผมจะอธิบายตามภาพนะครับ ลองดูว่าเข้าใจไหม ก่อนอื่นไปดูโครงสร้างสารกึ่งตัวนำเทียบกับชนิดทรานซิสเตอร์กันก่อนครับ
การไบอัสกลับ(Reversed Bias)
การไบอัสกลับ คือการต่อแรงดันไบอัสให้เป็นขั้วตรงข้ามกับสารกึ่งตัวนำต้องการ ซึ่งจะทำให้สารกึ่งตัวนำ N หรือ P นั้นถูกดึงออกมา ซึ่งส่งผลให้มีกระแสย้อนกลับผ่านตังทรานซิสเตอร์ ซึ่งหากเกิดเหตุการแบบนี้ข้ออาจมีผลทำให้ทรานซิสเตอร์เสียหายได้
ปัจจัยที่ส่งผลให้ทรานซิสเตอร์เสียหาย
- แรงดันเกินกว่าทรานซิสเตอร์รับไหว
- ต่อขาผิด
- แรงดันกลับขั้ว
- อุณหภูมิความร้อน
- โหลดที่ขับเกินกว่าทรานซิสเตอร์ทำให้เกิดความร้อน
0 ความคิดเห็น