ยกตัวอย่างเช่น มีหม้อแปลง 220V.AC to 12V.AC เมื่อผ่านวงจร เร็กติไฟ แล้วไฟที่ออกไม่ใช่ 12V.DC นะครับอย่าเข้าใจผิดหละ เพราะหลังจากผ่านวงจร เร็กติไฟ แล้วไฟ DC ที่ได้จะมีแรงดันเพิ่มขึ้น โดยสามารถยกตัวอย่าง ของจริงได้ง่ายๆก็คือ
วงจรบริจเร็กติไฟ Bridge Diode Rectifier โดยจ่ายไฟ 220V.AC จากนั้นทดลองนำมิเตอร์ (ถ้าเป็นเข็มแนะนำให้ตั้งไปย่าน DC 1000V) จะพบว่าไฟที่อ่านได้มีค่าประมาณ 300+ V.DC จะเห็นข้อแตกต่างได้อย่างชัดเจน จาก 220V.AC to 300+V.DC เมื่อทราบอย่างนี้แล้ว ผมจึงนำวิธีการคำนวณแรงดันไฟออกหลังจากการแปลงมาให้ได้ทราบกันครับ
มาคำนวณกัน
Vin = แรงดันไฟเข้าบริจไดโอด (กระแสสลับAC)
Vout = แรงดันไฟออก (กระแสตรงDC)
Vrms = ค่าแรงดัน RMS (Root Mean Square)
ซึ่ง Vrms = Vp, Vp-p
โดย 1Vp = ค่ายอดของ 1รูปคลื่น
Vp-p = ค่ายอดของ 2รูปคลื่น หรืออาจเรียกว่า 1Cycle
เราจะมาลองคำนวณจากวงจรข้างบนว่า 300กว่าโวลต์ เนี่ยมายังไงไปเลย!
Vin = 220V.AC
220V.AC ผ่านวงจรบริจเร็กติไฟเออร์ Bridge Rectifier
Vout = Vin x Vrms
Vout = 220V.AC x 1.414Vp-p
Vout = 311 V.DC
ตัวอย่างอื่นๆ
หม้อแปลง 220V.AC to 12V.DC เมื่อผ่านวงจรจะมีแรงดันไฟตรงเท่าไหร่
Vout = Vin x Vrms
Vout = 12V.AC x 1.414Vp-p
Vout = 16.968V.DC
หม้อแปลง 220V.AC to 18V.DC เมื่อผ่านวงจรจะมีแรงดันไฟตรงเท่าไหร่
Vout = Vin x Vrms
Vout = 18V.AC x 1.414Vp-p
Vout = 25.452V.DC
หม้อแปลง 220V.AC to 24V.DC เมื่อผ่านวงจรจะมีแรงดันไฟตรงเท่าไหร่
Vout = Vin x Vrms
Vout = 24V.AC x 1.414Vp-p
Vout = 33.936V.DC
เอาหละครับเนื้อหาในบทความนี้ผมคิดว่า ต้องเป็นประโยชน์อย่างมากแน่ๆ เพราะผมเคยเสียเงินซื้อหม้อแปลงมาแล้ว ไม่สามารถใช้ได้กับวงจร ก็คือแบบทำวงจรขยาย แล้ววงจรขยายที่ทำรองรับไฟกระแสตรง 24โวลต์ดีซี ก็เลยจัดเลย ซื้อหม้อแปลง 220v.ac to 24v.dc พอมาต่อผ่านวงจรบริจเร็กติไฟเออร์เท่านั้นหละไม่นาน คาปา ทรานซิสเตอร์เตอร์ระเบิดพัง หมดครับ 555
ขอบคุณครับ
1 ความคิดเห็น
ขอบคุณครับสุดยอดไปเลย
ตอบลบ