ตัวเหนี่ยวนำ Inductor เบื้องต้น

Indicator หรือ ตัวเหนี่ยวนำ คือ สิ่งที่อยู่ไม่ไกลจากตัวเรา โดยเจ้าตัวเหนี่ยวนำนี้ เป็นส่วนประกอบในวงจรไฟฟ้า มีคุณสมบัติในการป้องกันการเปลี่ยนแปลงของกระแสไฟฟ้า ที่ไหลผ่านตัวมัน เช่น ลวดทองแดงพันเป็นวงกลม เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านตัวมัน พลังงานจะถูกสะสมเก็บไว้ชั่วคราวในรูปแบบของ สนามแม่เหล็ก เมื่อกระแสไฟฟ้านั้นมีการเปลี่ยนแปลง จะทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าในตัวนำนั้น ตามกฏการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าของ ฟาราเดย์

       อัตราส่วนของแรงดันไฟฟ้า กับ อัตราการเปลี่ยนแปลงของกระแสไฟฟ้า มีหน่วยเป็น เฮนรี่ Henries (H) ตัวเหนี่ยวนำมีค่าปกติตั้งแต่ 1ไมโครเฮนรี่ จนถึง 1เฮนรี่ ตัวเหนี่ยวนำจำนวนมากนิยมใช้ แกนเฟอร์ไรด์ เป็นแกน
       RLC อุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ สามชิ้นสามชนิดนี้ สามารถใช้งานร่วมกันได้ โดย ตัวเหนี่ยวนำของเรานั้นมีหน้าที่ ที่นิยมใช้ในวงจรคือ โช้ค Choke ป้องกันการไหลของกระแสไฟฟ้า AC ในขณะเดียวกันตัวมันเองก็ยอมให้ ไฟฟ้ากระแสตรงผ่านไปได้ DC หรือ ถูกใช้เป็นตัวกรองแยกสัญญาณที่มีความถี่แตกต่างกันร่วมกับตัวเก็บประจุ เพื่อทำเป็นวงจรปรับหาความถี่ Tuner โดยจูนเนอร์นี้จะอยู่ในภาครับของ วิทยุหรือโทรทัศน์ เป็นต้น
ส่วนประกอบของตัวเหนี่ยวนำ
       ประกอบด้วยวัสดุตัวนำ โดยทั่วไปจะเป็นลวดทองแดงหุ้มฉนวน พันรอบแกนที่ทำจากพลาสติกหรือ แกนเหล็ก โดยแกนเหล็ก จะมีค่าซึมผ่านของแกนที่สูง ซึ่งจะช่วยเพิ่มสนามแม่เหล็กที่วนเวียนใกล้ชิดกับตัวเหนี่ยวนำ หรือก็คือเพิ่มค่าความเหนี่ยวนำนั่นเอง ตัวเหนี่ยวนำความถี่ต่ำถูกสร้างขึ้นมาเหมือนหม้อแปลงไฟฟ้า ที่มีแกนเหล็กชั้นบางๆเพื่อป้องกันกระแสไหลวน จะนิยมนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในความถี่เสียง เนื่องจากไม่ก่อให้เกิด การสูญเสียพลังงานมาก
ชนิดของตัวเหนี่ยวนำ
แกนอากาศ
มักถูกนำมาใช้กับความถี่สูง เช่น
-ความถี่วิทยุ
       นิยมใช้ในภาครับ ความถี่วิทยุ (RF), วงจรเรโซแนนท์ ช่วยในการขยายแบนด์วิดธ์
แกน ferromagnetic [แกนเหล็ก]
-แกนเฟอร์ไรท์
      ถูกใช้ในภาครับวิทยุ
-แกนเทอร์ลอย Toroid
       ที่ผมพบเห็นก็จะถูกใช้เป็น หม้อแปลงเทอร์ลอยครับ
-Choke
       โช๊คถูกออกแบบโดยเฉพาะสำหรับการปิดกั้นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ความถี่สูงในวงจรไฟฟ้า ขณะที่ยอมให้ความถี่ที่ต่ำกว่าหรือกระแส DC สามารถผ่านไปได้ มันมักจะประกอบด้วยคอยล์ที่มีขดลวดฉนวนพันบนแกนแม่เหล็ก


-ตัวเหนี่ยวนำแปรค่าได้
       ตามชื่อของเขาเลยครับ ตัวเหนี่ยวนำแปรค่าได้ คือสามารถปรับตั้งค่าได้เอง มักถูกใช้ใน ภาครับของวิทยุครับ

สัญลักษณ์ ตัวเหนี่ยวนำ Inductor Symbol


แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น