วิธีซ่อมตรวจเช็คซ่อม ไมโครเวฟ ฉบับภาพ+ตัวหนังสือ

Micro Wave ไมโครเวฟ หรือ เครื่องอุ่นอาหารที่หลายๆบ้าน มีใช้กันซึ่งใช้ๆไปก็ต้องมีเสียกันบ้างเป็นเรื่องธรรมดา ดังนั้นวันนี้ผมจึงมานำเสนอ วิธีซ่อมไมโครเวฟและตรวจเช็คตัวเสีย ในแบบฉบับคำพูดของผมนี่หละ บางท่านอาจเข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้างก็ต้องขออภัยไว้ล่วงหน้าด้วยครับ แต่ก็คงใช้เป็นแนวทางการซ่อมได้ไม่มากก็น้อยครับ

อุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจเช็ค


  1. ไขควง ใช้ในการถอดฝา ถอดอุปกรณ์ออกมาตรวจเช็ค
  2. มัลติมิเตอร์ แบบเข็ม ตัวนี้คือตัวสำคัญเลยครับหาซื้อได้ง่าย แถมตัวเทียมก็ถูกอีกต่างหาก ฮ่าๆ

อุปกรณ์หลักๆ ใน เครื่อง ไมโครเวฟ

  1. ฟิวส์ ในที่นี้คือ ในกรณีที่เครื่องไม่ติดหรือไม่ทำงานเราก็ดูที่ฟิวส์และส่วนอื่นๆ เพราะถ้าฟิวส์ขาด แน่นอนหละครับว่าเครื่องต้องมีปัญหาแน่ๆ
  2. ไดโอด ไฟสูงที่ต่อคร่อมอยู่บริเวณ Capacitor หรือที่เราเรียกว่า ซี นั่นเอง
  3. ซี ตัวเก็บประจุ Capacitor
  4. เม็กนิตรอน หรือที่เวลาเครื่องเสียช่างชอบบอกตัวนี้เสีย ว่าตัวยิงคลื่นอะไรประมาณนั้นครับ

เริ่ม!! การซ่อมและตรวจเช็ค..

ก่อนอื่นเรามาเริ่มเช็คจากตัวที่เขา ชอบบอกว่าเสีย ในกรณีที่เครื่องอุ่นอาหารไม่ร้อนกันครับ ก็คือ เม็กนิตรอน Magnetron
ขั้นตอนการวัด ให้เราถอดสายที่ต่อกับตัว เม็กนิตรอน ออกให้หมด
       จากนั้นใช้มัลติมิเตอร์แบบเข็มวัด โดยตั้งย่าน คูณ 1 ดูก่อน โดยจับขา เม็กนีตรอน 1ข้างจากนั้น ปลายอีกข้างจับที่ ตัวถังของเม็กนิตรอนดู ต้องไม่ขึ้นถ้าขึ้นคือรั่วเสีย จากนั้นลองกลับข้างไปมาดู หรือ อาจลองตั้งย่าง คูณ 10k ก็ต้องไม่ขึ้นเล่นกัน แต่ถ้านำมิเตอร์ มาจับระหว่างขาทั้ง 2ของเม็กนิตรอน แล้วขึ้นไม่ต้องตกใจไปครับ มันเป็นเช่นนั้นหล่ะ
       หลังจากทดสอบวัดตัว ที่เขานิยมบอกว่าเสียกันเรียบร้อยแล้วนั้น หากไม่เสียเราก็จะเช็คจุดถัดไป จุดนี้คงรู้จักกันดีครับ ฟิวส์นั่นเอง ว่าขาดหรือไม่ ส่วนขั้นตอนวัดนั้น ผมคงไม่ต้องสอน คงจะเป็นกันอยู่แล้วหละ
ไดโอดไฟสูง จะต่ออยู่บริเวณ ซี หรือ ตัวเก็บประจุ กับ ตัวถังของเครื่องไมโครเวฟ โดยวิธีวัด ให้เราใช้ มัลติมิเตอร์แบบเข็มอีกเช่นเดิม โดยตั้งย่าน คูณ 1ก่อน ใช้ปลาดสายมิเตอร์จับข้างละ 1เส้นและสลับดู โดยถ้าไดโอดตัวนี้ปกติจะต้อง เข็มขึ้น 1ครั้งและไม่ขึ้น 1ครั้ง วิธีเช็คการรีคค่าของไดโอด ให้ตั้งย่าน x10k ก็ต้องขึ้นครั้งไม่ขึ้นครั้ง เช่นกันครับ
ตัวเก็บประจุ Capacitor ใช้มัลติมิเตอร์แบบเข็ม ในการเช็ค โดยตั้งมัลติมิเตอร์วัดย่านวัดโอมตามความเหมาะสม เพราะว่า ตัวเก็บประจุนี้จะมีความต้านทานภายในตัวเอง เขียนไว้ที่ตัวถัง ดังเช่นภาพข้างล่างนี้ มีความต้านทาน 10M โอห์ม ให้ปรับมิเตอร์วัดและอ่านค่าถ้าใกล้เคียงถือว่าใช้ได้ จากนั้น ทดสอบการรั่วของ ตัวเก็บประจุ โดยจับขา ตัวเก็บประจุ 1ข้าง อีกข้างจับที่ตัวถังโดยตั้งย่าน x10k วัดสลับไปมาต้องไม่ขึ้น ถือว่าใช้ได้
ท้ายนี้ การซ่อมหรือวิธีตรวจเช็ค หากไม่เป็นไปตามที่ผมกล่าวมาข้างต้นก็ต้องขออภัยด้วยนะครับ แต่สิ่งที่ผมอธิบายออกมานั้น เกิดจากการปฏิบัติของผมเอง จริงๆ หากผิดพลาดอย่างไร ก็ขออภัยด้วยครับ ขอบคุณครับ

แสดงความคิดเห็น

2 ความคิดเห็น

Emoji
(y)
:)
:(
hihi
:-)
:D
=D
:-d
;(
;-(
@-)
:P
:o
:>)
(o)
:p
(p)
:-s
(m)
8-)
:-t
:-b
b-(
:-#
=p~
x-)
(k)