วิธีทำไดโอด ให้สามารถทนแรงดันได้สูงขึ้น

เคยสงสัยหรือไม่ครับ ว่าไดโอดทั่วไปอย่างเช่น 1N4007,1N4148 ถ้าเราจ่ายแรงดันเกินกว่าที่ตัวอุปกรณ์จะรับไหวให้จะเกิดผลลัพธ์อย่างไร แน่นอนครับว่าสามารถเดาได้เลยว่า "พังช็อตลัดวงจร" แต่ในบทความนี้เราจะมานำเสนอเทคนิคการใช้งานไดโอดให้สามารถรับแรงดันได้มากตามที่เราต้องการเลยหล่ะครับ
วิธีการคือ
       การนำไดโอดเบอร์เดียวกันมาอนุกรมกันนั่นเองครับ ยกตัวอย่างคือ ไดโอดเบอร์ 1N4001 สามารถทนแรงดันไฟฟ้าได้ 50โวลต์ ดังนั้นหากเราต้องการให้แรงดันไฟฟ้ากระแสสลับขนาด 220โวลต์ผ่านตัวมันได้ เราจะต้องนำไดโอดเบอร์ 1N4001 มาอนุกรมกัน 50โวลต์*5ตัว = 250โวลต์ ***ข้อควรระวัง ไดโอดแต่ละตัวอาจมีคุณสมบัติไม่เหมือนกันแบบเป๊ะๆ การอนุกรมกันแรงดันแต่ละตัวจึงอาจไม่เท่ากัน ดังนั้นวิธีแก้ไขคือการ ต่อตัวต้านทานค่าสูงๆให้กับไดโอดแต่ละตัวด้วย เพื่อแบ่งแรงดันตกคร่อมไดโอดให้เท่าๆกัน ครับ
การต่อก็ประมาณดังรูปด้านบนครับ
ขอบคุณที่เข้ามารับชมครับ

แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น