อุปกรเรียงกระแส ที่นิยมใช้กันผมขอยกตัวอย่าง ไดโอด [Diode] ซึ่งมีคุณสมบัติประจำตัวของมันเองคือสามารถใช้เป็นอุปกรณ์เรียงกระแสไฟฟ้าได้ เช่น เรียงกระแสจากไฟฟ้ากระแสสลับ AC เป็น กระแสตรง DC
ไดโอดชนิดต่างๆ
- ไดโอดดีเท็คเตอร์ (Detector Diode) ไดโอดประเภทนี้จะใช้ในวงจรเครื่องรับ-ส่งวิทยุ โดยใช้เป็นตัวแยกสัญญาณวิทยุ หรือ ลดสัญญาณรบกวน
- ไดโอดเร็กติฟาย (Rectifier Diode) ไดโอดประเภทนี้จะใช้ในวงจรเรียงกระแส (Rectifier) หรือวงจรแปลงไฟสลับเป็นไฟตรงนั่นเอง โดยไดโอดที่พบเห็นกันส่วนใหญ่จะเป็นไดโอดประเภทนี้
- ไดโอดกำลัง (Power Diode) ไดโอดประเภทนี้จะมีลักษณะเป็นโลหะขนาดใหญ่ เพื่อช่วยในการระบายความร้อนภายในตัว ส่วนใหญ่จะใช้ในงานแหล่งจ่ายกำลัง ซึ่งมีกระแสสูง
- ซีเนอร์ไดโอด (Zener Diode) เป็นไดโอดที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ โดยจะทำงานในสภาวะไบอัสกลับ และมีคุณสมบัติในการรักษาระดับแรงดันไฟฟ้า ที่ตกคร่อมตัวมัน ให้มีค่าคงที่ จึงนิยมใช้ในวงจรรักษาระดับแรงดันไฟฟ้า( Voltage Regulator)
- ไดโอดเปล่งแสง (Light Emitting Diode) มักเรียกย่อว่า แอลอีดี (LED) เป็นไดโอดที่ออกแบบมาเป็นพิเศษโดยเมื่อได้รับแรงดันไบอัสตรง จะเปล่งแสงออกมาได้ ซึ่งมีทั้ง สีแดง เขียว ฟ้า ส้ม เหลือง ฯลฯ ตามสารที่ใช้ทำ มักใช้ในส่วนของการแสดงผลในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เพราะกินไฟน้อยกว่าหลอดไฟมาก
- ไดโอดรับแสง (Photo Diode) ไดโอดที่ออกแบบมาเพื่อปรับเปลี่ยนค่าตามความเข้มของแสงที่เข้ามา โดยจะมีลักษณะเป็นช่องหน้าต่างเล็กๆ ไว้ใช้ในการรับแสง ซึ่งอาจเป็นแสงสว่างธรรมดาหรือแสงอินฟาเรด มักใช้กับวงจรตรวจจับสัญญาณ หรือ ในวงจรควบคุมระยะไกล หรือที่เรียกว่า รีโมท
การนำไปใช้งานจริง [เบื้องต้น]
จากวงจรข้างบนเพื่อนๆจะเห็นส่วนประกอบของวงจรว่ามี อุปกรณ์ หม้อแปลง และ ไดโอดเป็นอุปกรณ์หลัก ซึ่งผมสามารถอธิบายแบบสั้นๆว่า หม้อแปลงมีหน้าที่แปลงไฟใช่ไหมหล่ะครับแปลงลดระดับแรงดันมา เป็นไฟ AC ดังขาไฟเข้าก็เป็นไฟ AC เช่นกัน แต่!! ถ้าในกรณีที่เราจะนำไปต่อกับวงจรหรืออุปกรณ์ที่ต้องการแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงหล่ะครับ นั่นหล่ะเจ้าไดโอดนี่หล่ะครับ คือพระเอกของเราเลย โดยจากภาพข้างบนไดโอดมีการต่อวงจรแบบ วงจรเรียงกระแสแบบครึ่งคลื่นทาง บวก โดยให้รูปคลื่นออกมาได้ดังนี้
สัญญาณเข้า
สัญญาณออก
และถ้าเพื่อนๆต้องการไฟลบก็ให้ทำการกลับขั้วของไดโอด ไดโอดก็จะทำการเรียงกระแสทางลบโดยเอาต์พุตที่ได้ก็จะอยู่ในซีกลบนั่นเองครับ
สำหรับครั้งหน้าเดียวผมจะมาแนะนำวงจรแปลงไฟง่ายๆแต่นำไปประกอบวงจรใช้ได้จริงกันต่อไปน่ะครับ ขอบคุณครับ
0 ความคิดเห็น