วงจรรักษาระดับแรงดัน - [Voltage Regulator Circuits] คือ
วงจรที่จะต่ออยู่ระหว่างแหล่งจ่ายไฟกระแสตรง กับ โหลด ทำหน้าที่ในการจ่ายไฟตรงให้กับโหลดและสามารถรักษาระดับแรงดันให้คงที่ได้ หรือ ยกตัวอย่างง่ายๆก็คือ สมมุติว่าเรามีแหล่งจ่ายอยู่ 12 โวลต์ แต่ว่าวงจรของเราต้องการไฟเพียง 10 โวลต์ เราก็สามารถนำเจ้าตัววงจรรักษาระดับแรงดันนี้มาใช้ต่อเพื่อจ่ายให้กับวงจรของเราได้นั่นเอง
วงจรรักษาระดับแรงดัน จากซีเนอร์ไดโอด - [Zener Voltage Regulator]
ซีเนอร์ไดโอด คือไดโอดชนิดพิเศษที่สร้างขึ้นมา ให้มีการทำงานที่แตกต่างไปจาก ไดโอดเรียงกระแสแบบทั่วไปครับ สรุปคือ เมื่อมีการจ่าบไบอัสให้กับตัวซีเนอร์ไดโอดจะสามารถทำงานเรียงกระแสได้เหมือนกับไดโอดปกติ แต่เมื่อมีการไบอัสกลับให้กับซีเนอร์ไดโอด จนถึงค่าแรงดันที่กำหนด ซีเนอร์ไดโอดจะนำกระแสและเกิด แรงดันตกคร่อมตัวมันเองเท่ากับค่าแรงดันที่กำหนดที่ตัวซีเนอร์นั่นเองครับ
ซีเนอร์ไดโอด คืออะไร? คลิกอ่านเลยครับผม
สรุป - แบบผมสรุปน่ะครับแบบเข้าใจง่ายๆ
ให้เพื่อนๆนึกก่อนเลยครับว่า เรามี ซีเนอร์ไดโอดอยู่ 1 ตัว จากนั้นให้เพื่อนๆคิดว่าเจ้าตัวซีเนอร์ตัวนี้เปรียบเสมือนถังน้ำ และ แรงดันไฟฟ้าก็คือ น้ำ และ สมมุติว่า เจ้าตัวซีเนอร์ตัวนี้เนี่ย สามารถนำกระแสเมื่อไบอัสกลับได้ที่ 5 โวลต์ครับ ง่ายๆครับ เมื่อเราทำการจ่ายแรงดันให้ตัวซีเนอร์ 10 โวลต์ คือการเติมน้ำลงในถังแต่ถังของเรารับได้แค่ 5 โวลต์ ดังนั้นน้ำก็จะล้น ต่อให้เติมยังไงก็ยังล้นนั่นหล่ะครับ ซีเนอร์ไดโอดนำกระแสเมื่อมีการไบอัสกลับ เกิน 5 โวลต์นั่นเองครับ
สำหรับใคร งง ก็ต้องขออภัยด้วยน่ะครับ แต่ผมเข้าใจอย่างนี้จริงๆครับ อิอิ ขอบคุณครับ
0 ความคิดเห็น