วงจรทวีคูณแรงดัน - Voltage Multiplier

วงจรทีวีคูณแรงดัน - [Voltage Multiplier]
       คือวงจร ที่มีหลักการทำงานคล้ายกับ วงจรเรียงกระแสแต่สามารถทำให้แรงดันไฟฟ้ากระแสตรง ในขาออก OUTPUT มีค่าที่เพิ่มสูงมากขึ้นเป็น 2 3 4 เท่า ฯลฯ ค่าของแรงดันสูงสุด ที่ขดลวดทุติยภูมิ[ขาออก] ของหม้อแปลงไฟฟ้า วงจรทวีคูณแรงดันแบบที่นิยมใช้งานกันมีดังนี้
   1. Voltage Doubler - ทวีคูณแรงดัน 2 เท่า
   2. Voltage Triper - ทวีคูรแรงดัน 3 เท่า
   3. Voltage Quadrupler - ทวีคูณแรงดัน 4 เท่า
โดยสามารถอธิบายหลักการทำงานได้ดังนี้

1. วงจร Voltage Doubler - วงตรทวีคูณแรงดันแบบ 2 เท่า
       วงจรทวีแรงดัน 2 เท่า เป็นวงจรที่สามารถทำให้แรงดันไฟฟ้า ทางด้านขาออก OUTPUT มีค่าเพิ่มสูงขึ้นเป็น 2 เท่า เช่า จ่าย 1 ออก 2 จ่าย 5 ออก 10 ประมาณนี้ครับ สามารถออกแบบวงจรได้ 2 ลักษณะ คือ 1. ทวีคูณแรงดันแบบเต็มคลื่น 2. ทวีคูณแรงดันแบบครึ่งคลื่น
   1.1 วงจรทวีคูณแรงดัน 2 เท่า แบบเต็มคลื่น - [Full - Wave Voltgae Doubler]
      
       เมื่อมีสัญญาณไฟฟ้ากระแสสลับจากขดลวดทุติยภูมิ [ขาออก] ของหม้อแปลงในช่วงครึ่งคลื่นบวกที่จ่ายให้กับวงจรทำให้ไดโอด D1 ได้รับไบอัสตรงจึงนำกระแส ส่วนไดโอด D2 ได้รับการไบอัสกลับจึงไม่นำกระแส จากนั้นตัวเก็บประจุ C1 เริ่มชาร์จประจุได้รับแรงดันตกคร่อม C1 เท่ากับแรงดัน จากขดลวดทุติยภูมิของหม้อแปลงนั่นเองครับ
       ในช่วงครึ่งคลื่นลบ ทำให้ไดโอด D1 ได้รับการไบอัสกลับไม่นำกระแส ส่วนไดโอด D2 ได้รับการไบอัสตรงจึงนำกระแส ทำให้ตัวเก็บประจุ C2 เรื่มชาร์จ ได้รับแรงดันตกคร่อม C2 เท่ากับแรงดันจากขดลวดทุติยภูมิของหม้อแปลงนั่นเอง
2. วงจรทวีคูณแรงดัน 2 เท่า แบบครึ่งคลื่น - [Half - Wave Voltage Doubler]
       เมื่อมีสัญญาณไฟฟ้ากระแสสลับจากขดลวด ทุติยภูมิ [ขาออก] ของหม้อแปลงในช่วงครึ่งคลื่นฝั่งบวกจ่ายให้กับวงจรทำให้ไดโอด D1 ได้รับการไบอัสตรงนำกระแสไฟฟ้า ส่วนไดโอด D2 ได้รับไบอัสกลับจึงไม่นำกระแส ทำให้ตัวเก็บประจุ C1 เริ่มการชาร์จ ได้รับแรงดันตกคร่อม เท่ากับ แรงดันจากขดลวดทุติยภูมิ[ขาออก]
       ในช่วงครึ่งคลื่นลบ จะทำให้ตัวไดโอด D1 ได้รับการไบอัสกลับทำให้ไดโอดไม่นำกระแสไฟฟ้า ส่วนไดโอด D2 ได้รับการไบอัสตรง จึงเกิดการนำกระแส ตัวเก็บประจุ C1 จะคายประจุ ทำให้แรงดัน จากขดลวด ขาออก ที่ต่ออยู่กับ C1 กลายเป็นเกิดมีแรงดันรวม จ่ายให้กับ C2 ทำให้ C2 ชาร์จประจุได้เป็น 2 เท่านั่นเองครับผม

แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น