C อนุกรมกับลำโพง ทำไม

 การใช้ตัวเก็บประจุ ต่ออนุกรมกับดอกลำโพง คือการต่อเพื่อให้เกิดเป็นวงจร พาสซีพฟิลเตอร์ Passive Filter RC โดย

R คือ Resistance ความต้านทาน ในที่นี้คือความต้านทานของ ลำโพง

C คือ Capacitance ค่าความจุของตัวเก็บประจุ ที่นำมาอนุกรมกับ ลำโพง

คุณสมบัติของ วงจร RC Filter แบบ Passive

  • ใช้สำหรับกรองความถี่สูงผ่าน
  • ความถี่ที่มากกว่าค่าที่คำนวณออกมา สามารถผ่านได้อย่างง่าย
  • หากความถี่ต่ำกว่าค่าที่กำหนด จะผ่านไปได้ยาก

สูตรการคำนวณหาค่าความถี่

f = 1 ÷ (2 x π x R x C)
f คือ ความถี่ที่ต้องการทราบ หน่วยเป็น Hz
π คือ ค่าพาย 3.141
R คือ ค่าความต้านทาน ของลำโพง เช่น 4, 8, 16Ω
C คือ ค่าความจุของ ตัวเก็บประจุที่นำมาอนุกรมกับ ลำโพง

การแบ่งระดับความถี่เสียง

สามารถแบ่งได้ 3 ระดับคือ
  • ความถี่สูง (High Frequency) : ช่วงความถี่ระหว่าง 2kHz - 20kHz
  • ความถี่กลาง (Mid Frequency) : ช่วงความถี่ระหว่าง 300Hz - 2kHz
  • ความถี่ต่ำ (Low Frequency) : ช่วงความถี่ที่น้อยกว่า 300Hz ลงไป

ตัวอย่างการคำนวณ

ตัวเก็บประจุที่นิยมนำมาต่อ อนุกรมกับ ลำโพงยกตัวอย่างได้ดังนี้ 1uF, 2.2uF, 3.3uF, 10uF
โดยเราสามารถนำมาคำนวณกับความต้านทาน ของ ลำโพงแต่ละขนาดได้ดังนี้ 4, 8, 16Ω
ความถี่(Hz)ความถี่(Hz)16Ωความถี่(Hz)
1uF39.8k1uF19.8k1uF318
2.2uF18.1k2.2uF12.1k2.2uF145
3.3uF12.2k3.3uF8.8k3.3uF97
10uF4.1k10uF2k10uF31

สรุป

การต่อตัวเก็บประจุ อนุกรม กับ ดอกลำโพง นั้น
  • การจัดวงจรเหมาะกับการใช้สำหรับลำโพงเสียงแหลม
  • ช่วยป้องกันดอกลำโพงไม่ให้เกิดความเสียหายได้ง่าย
  • ช่วยแยกเสียงให้เหมาะกับดอกลำโพง ตัดเสียงส่วนเกินออกให้น้อยลง

แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น